![](images/upload/469901934_1124275909045191_830324139916638536_n.jpg)
“...อันความต้องการของบุคคลนั้นไม่มีที่สิ้นสุด
อยากได้ใคร่ดี อยากมีอยากเป็น อยากจะให้พ้นๆ
ไปเพราะไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งล้วนแต่หาความพอดีไม่ได้
ถ้าต้องสนองความพอใจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นส่วนเฉพาะ
โดยมิได้คำนึงถึงคนรอบตัวหรือคนอื่น ความสับสนวุ่นวายก็จะเกิดขึ้น
เพราะความสุขของคนผู้หนึ่งมีผลไปกระทบความเป็นอยู่ของคนอีกหลายคน
เมื่อไม่มีลักษณะของการเฉลี่ยความสุขหรือการเสียสละเพื่อส่วนรวม สังคมก็อยู่ไม่ได้
ดังนั้น
การอยู่เป็นสุขในโลกหรือในสังคม
จึงต้องอาศัยการจัดระเบียบตัวเองให้เหมาะสมแก่สถานะ ไม่ล่วงล้ำก้ำเกินสิทธิของใคร
ไม่เอาเปรียบใคร แต่อยู่กันด้วยความเข้าใจ มีไมตรีจิตต่อกัน
รู้จักเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อกัน รู้จักให้อภัยต่อกัน รู้จักพูดประสานไมตรี แบ่งปันความดีให้คนอื่นได้ดีบ้าง
รู้จักทำความดีเพื่อให้ความดีเป็นของมีอยู่คู่กับโลกบ้าง รู้จักตัวเอง
รู้จักกำจัดความปรารถนาจนเกินเหตุของตน วางตนสมฐานะ
ทำตนเสมอต้นเสมอปลายในคนทั้งหลาย...”
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
(
ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.๙)
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
ที่มา: หนังสือ บทพระธรรมเทศนา -
บทความ - โอวาท สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ ป.ธ.๙) พิมพ์ครั้งที่ ๑
สิงหาคม ๒๕๔๘ หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๘